สงครามการค้ายังระอุหลังจีนงัดไพ่เด็ด จับตาสหรัฐฯออก "หมัดปริศนา" สู้ยิบตา!

โดย: hometownmac [IP: 183.88.237.xxx]
เมื่อ: 2019-06-18 17:57:39
สงครามการค้ายังระอุหลังจีนงัดไพ่เด็ด จับตาสหรัฐฯออก "หมัดปริศนา" สู้ยิบตา!เดือดร้อนกันทั่วหน้า หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศขึ้นกำแพงภาษีจีนจากเดิม 10% เป็น 25% พร้อมสั่งห้ามใช้เทคโนโลยีของจีน และบอยคอต Huawei ชั่วคราวเป็นเวลา 90 วัน ทว่าผลกระทบมาตรการแข็งข้อของ โดนัลด์ ทรัมป์ กลับไม่สะทกสะท้านจีนเลยแม้แต่น้อย คนที่รับเคราะห์ก็หนีไม่พ้นผู้บริโภค และเจ้าของแบรนด์รายใหญ่ของสหรัฐฯมากกว่า ถึงขั้นวอนขอให้ ทรัมป์ ยกเลิกการขึ้นกำแพงภาษี 25% เนื่องจากสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากจีนจะมีราคาแพงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Nike, Addidas และ Under Armour หากพลิกดูด้านหลังสินค้าจะพบกับคำคุ้นเคย “Made In China” แม้จะห้อยท้ายว่า “Designed In U.S.A.” ก็ตาม สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ปะทุและระอุต่อเนื่อง สมัยที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 พร้อมรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับชาวอเมริกันว่า “Make America Great Again” ด้วยการไล่เช็กบิลประเทศที่ทำให้สหรัฐฯ เสียดุลการค้ามากที่สุด ซึ่งก็หนีไม่พ้นประเทศจีนนั่นเอง แต่! ต้นตอที่แท้จริงของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน (Trade War) เกิดขึ้นเมื่อหลาย 10 ปีก่อน และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความยืดเยื้อ? เรามีคำตอบมาฝากกัน Sanook! Money ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.นริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย หรือ TMB ถึงจุดเริ่มต้นของสงครามการค้าสองขั้วมหาอำนาจที่ป่วนตลาดเศรษฐกิจทั่วโลก ดร.นริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี การค้าเสรีสู่สมรภูมิกีดกันทางการค้า "มังกร VS อินทรี" ดร. นริศ เล่าย้อนไปเมื่อปี 2001 ประเทศจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หรือ World Trade Organization (WTO) ซึ่งเป็นองค์การที่ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศโดยเสรี ขจัดอุปสรรคทางการค้ากำแพงภาษีศุลกากร มาตรการต่างๆ ที่บิดเบือนกลไกการค้าเสรี ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา และยังเป็นเวทีการแก้ไขข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนทำให้สินค้าที่ผลิตด้วยค่าแรงที่ถูก เข้าถึงตลาดโลกได้ง่ายขึ้น นักลงทุน หรือผู้ประกอบการเห็นข้อดีจึงแห่ย้ายฐานการผลิต-ทิ้งโรงงานในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตสูงมาที่ประเทศจีนแทน ส่งผลให้จีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรายใหญสนับสนุนโดยเว็บไซต์ MarketSavvy

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,122,548